วันอังคารที่11 กุมภาพันธ์ 2556
บันทึกการเรียน
อาจารย์ให้ศึกษาความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่สนใจให้มากที่สุดเพื่อเตรียมทำข้อสอบปลายภาค
-เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
ความหมาย
บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพ หมายถึง บุคคลที่มีอวัยวะ
ไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ
เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่ง
อุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพ หมายถึง บุคคลที่มีอวัยวะ
ไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ
เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่ง
อุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
สาเหตุของความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพมีได้ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดขณะคลอด และเกิดขึ้นในภายหลัง
ความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด มักมี
สาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของ
ร่างกาย และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการ
ตั้งครรภ์ระยะนี้ อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการได้ ตัวอย่างได้แก่มารดาเป็น
หัดเยอรมัน หรือมีประวัติการใช้ยา หรือรักษาด้วยยา สูบบุหรี่ หรือติดเหล้า มารดาเป็นโรค
เบาหวาน มารดาได้รับบาดเจ็บหรือการกระทบกระแทกที่หน้าท้อง มารดาได้รับแสงกัมมันต-
รังสีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อการเติบโตของเด็ก หรือภาวะทุโภชนาการ ทำให้ขาดสาร
อาหาร
2. โรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดความผิดปกติทางสายเลือด เด็กในครรภ์อาจดิ้น
ไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น มีภาวะโรคไขสันหลังฝ่อ หรือ
หรือเป็นโรคข้อติดยึด หรือเป็นอัมพาตของขาเนื่องจากมีความผิดปกติของการสร้างกระดูก
หลังที่มาห่อหุ้มไขสันหลังในระดับสูง เด็กอาจเป็นโรคกระดูกอ่อนหักง่าย หรือโรคกล้าม
เนื้อพิการ
3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด เช่น
คลอดยาก คลอดโดยการใช้เครื่องมือ หรือผ่าตัดคลอด คลอดท่าก้น คลอดก่อนกำหนด หรือ
คลอดหลังกำหนด เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดหรืออาจมีเลือดออกในสมองทำให้มี
ความผิดปกติของสมอง เด็กอาจแสดงอาการหายใจลำบาก ตัวอ่อนปวกเปียก ไม่กลืนนม
อาการชัก หรือซึม เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีนํ้าหนักตัวน้อยเป็นสาเหตุของสมองพิการ
ชนิดเกร็งได้ (Cerebral palsy) ส่วนเด็กที่มีนํ้าหนักตัวมาก อาจได้รับอันตรายระหว่างคลอด
ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง และไขสันหลัง หรือกลุ่มเส้นประสาทเบรเคียล (Brachial
Plexus Injury) เด็กที่มีอาการตัวเหลือง หลังคลอดอาจทำให้พิการชนิดเคลื่อนไหวผิดปกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพภายหลัง ได้แก่ อุบัติเหตุ
ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง และแขนขา เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร การตกจาก
ที่สูง การถูกทำร้าย ภาวะถูกไฟไหม้ หรือนํ้าร้อนลวก ภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อของสมอง
เยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังเนื้องอกของสมองและไขสันหลังหรือกระดูก โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์
โรคเลือด ทำให้มีเลือดออกในข้อใหญ่ๆ ก่อให้เกิดความพิการได
สาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ระหว่างมารดาตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของ
ร่างกาย และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง 3 เดือนแรก ถ้ามีความผิดปกติของการ
ตั้งครรภ์ระยะนี้ อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการได้ ตัวอย่างได้แก่มารดาเป็น
หัดเยอรมัน หรือมีประวัติการใช้ยา หรือรักษาด้วยยา สูบบุหรี่ หรือติดเหล้า มารดาเป็นโรค
เบาหวาน มารดาได้รับบาดเจ็บหรือการกระทบกระแทกที่หน้าท้อง มารดาได้รับแสงกัมมันต-
รังสีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อการเติบโตของเด็ก หรือภาวะทุโภชนาการ ทำให้ขาดสาร
อาหาร
2. โรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดความผิดปกติทางสายเลือด เด็กในครรภ์อาจดิ้น
ไม่แรง หรือไม่ดิ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น มีภาวะโรคไขสันหลังฝ่อ หรือ
หรือเป็นโรคข้อติดยึด หรือเป็นอัมพาตของขาเนื่องจากมีความผิดปกติของการสร้างกระดูก
หลังที่มาห่อหุ้มไขสันหลังในระดับสูง เด็กอาจเป็นโรคกระดูกอ่อนหักง่าย หรือโรคกล้าม
เนื้อพิการ
3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด เช่น
คลอดยาก คลอดโดยการใช้เครื่องมือ หรือผ่าตัดคลอด คลอดท่าก้น คลอดก่อนกำหนด หรือ
คลอดหลังกำหนด เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดหรืออาจมีเลือดออกในสมองทำให้มี
ความผิดปกติของสมอง เด็กอาจแสดงอาการหายใจลำบาก ตัวอ่อนปวกเปียก ไม่กลืนนม
อาการชัก หรือซึม เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีนํ้าหนักตัวน้อยเป็นสาเหตุของสมองพิการ
ชนิดเกร็งได้ (Cerebral palsy) ส่วนเด็กที่มีนํ้าหนักตัวมาก อาจได้รับอันตรายระหว่างคลอด
ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง และไขสันหลัง หรือกลุ่มเส้นประสาทเบรเคียล (Brachial
Plexus Injury) เด็กที่มีอาการตัวเหลือง หลังคลอดอาจทำให้พิการชนิดเคลื่อนไหวผิดปกติ
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพภายหลัง ได้แก่ อุบัติเหตุ
ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง และแขนขา เช่น อุบัติเหตุจากการจราจร การตกจาก
ที่สูง การถูกทำร้าย ภาวะถูกไฟไหม้ หรือนํ้าร้อนลวก ภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อของสมอง
เยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังเนื้องอกของสมองและไขสันหลังหรือกระดูก โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์
โรคเลือด ทำให้มีเลือดออกในข้อใหญ่ๆ ก่อให้เกิดความพิการได
ลักษณะโรคหรือสภาวะที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ
1. ซีรีบรัล พัลซี (Cerebral Palsy) หรือกลุ่มสมองพิการ เป็นสภาวะความผิดปกติของ
ท่าทางและการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพในสมอง ในช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต
ภายใน 8 ปีแรก แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางสมองหลังช่วงอายุนี้ จะไม่เรียกว่า Cerebral Palsy
เด็กจะมีความผิดปกติของทางการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก แก้ม ลิ้น ใบหน้า แขน ขา
มีการพัฒนาของปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ ของร่างกายผิดปกติไม่เป็นตามวัย และมีปฏิกริยา
ตอบสนอนต่อการกระตุ้น เอ็นหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้มีกล้ามเนื้อหดสั้น และดึงให้ข้ออยู่
ในลักษณะงอหรือผิดรูป แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มเกร็ง (Spastic) เด็กมีกล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวได้ช้า ขาอาจมีอาการมากกว่าแขน หรือมีความผิดปกติครึ่งซีก หรือผิดปกติทั้งตัว ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
1.2 กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) เด็กไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ ได้จะมีการแสดงสีหน้า คอบิด แขนงอ หรือเหยียดเปะปะ ทั้งพูดลำบาก กลืนลำบาก อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว คล้ายอาการขว้างลูกบอล
ท่าทางและการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพในสมอง ในช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต
ภายใน 8 ปีแรก แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางสมองหลังช่วงอายุนี้ จะไม่เรียกว่า Cerebral Palsy
เด็กจะมีความผิดปกติของทางการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก แก้ม ลิ้น ใบหน้า แขน ขา
มีการพัฒนาของปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ ของร่างกายผิดปกติไม่เป็นตามวัย และมีปฏิกริยา
ตอบสนอนต่อการกระตุ้น เอ็นหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ ทำให้มีกล้ามเนื้อหดสั้น และดึงให้ข้ออยู่
ในลักษณะงอหรือผิดรูป แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คือ
1.1 กลุ่มเกร็ง (Spastic) เด็กมีกล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวได้ช้า ขาอาจมีอาการมากกว่าแขน หรือมีความผิดปกติครึ่งซีก หรือผิดปกติทั้งตัว ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
1.2 กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) เด็กไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ ได้จะมีการแสดงสีหน้า คอบิด แขนงอ หรือเหยียดเปะปะ ทั้งพูดลำบาก กลืนลำบาก อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว คล้ายอาการขว้างลูกบอล
เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) มักมีปัญหาทางสายตา หรือการได้ยินร่วมด้วย และอาจมีปัญหาในการสื่อความหมาย เด็กจำนวนหนึ่งอาจมีระดับสติปัญญาตํ่า
2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง
กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มที่มีความผิดปกติระหว่าง การพัฒนาร่างกายในครรภ์กระดูกสันหลังที่ห่อหุ้มไขสันหลังไม่เชื่อมติดกัน ทำให้มีการดึงรั้งของประสาทไขสันหลัง บางครั้งมีนํ้าในสมองเพิ่มด้วย เด็กจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่มีความรู้สึก และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
กลุ่มที่ 2 เกิดภายหลังจากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง ได้แก่อุบัติเหตุทางรถยนต์ ถูกยิง ถูกแทง ตกจากที่สูง หรือการติดเชื้อในไขสันหลังหรือการติดเชื้อในไขสันหลัง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับที่ได้รับบาดเจ็บ ถ้าเกิดในระดับที่สูงมาก ก็จะมีอาการอัมพาตของแขน และลำตัวร่วมด้วย การที่กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรง ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคด และกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตมักมีอาการเกร็ง กระตุก เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และการสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ไตวายได้
3. กลุ่มแขนขาขาด อาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ หรือเป็นมะเร็งของกระดูกทำให้สูญเสียแขนขาภายหลัง
4. โรคโปลิโอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ไขสันหลังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาต โดยประสาทรับความรู้สึกยังเป็นปกติ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เป็นเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีกล้ามเนื้อลำตัวเป็นอัมพาตด้วย กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงจะถูกกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าดึงให้ข้อผิดรูป ทำให้มีกระดูกสันหลังคด ขาโก่ง เท้าบิด แขนขายาวไม่เท่ากัน เป็นต้น
5. ความพิการอื่นๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม ข้ออักเสบ ข้อติดยึด กระดูกสันหลังฝ่อ กล้ามเนื้อพิการ โรคกระดูกเปราะบาง เป็นต้น
2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง
กลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มที่มีความผิดปกติระหว่าง การพัฒนาร่างกายในครรภ์กระดูกสันหลังที่ห่อหุ้มไขสันหลังไม่เชื่อมติดกัน ทำให้มีการดึงรั้งของประสาทไขสันหลัง บางครั้งมีนํ้าในสมองเพิ่มด้วย เด็กจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่มีความรู้สึก และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
กลุ่มที่ 2 เกิดภายหลังจากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง ได้แก่อุบัติเหตุทางรถยนต์ ถูกยิง ถูกแทง ตกจากที่สูง หรือการติดเชื้อในไขสันหลังหรือการติดเชื้อในไขสันหลัง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับที่ได้รับบาดเจ็บ ถ้าเกิดในระดับที่สูงมาก ก็จะมีอาการอัมพาตของแขน และลำตัวร่วมด้วย การที่กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรง ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคด และกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตมักมีอาการเกร็ง กระตุก เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และการสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ไตวายได้
3. กลุ่มแขนขาขาด อาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ หรือเป็นมะเร็งของกระดูกทำให้สูญเสียแขนขาภายหลัง
4. โรคโปลิโอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ไขสันหลังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาต โดยประสาทรับความรู้สึกยังเป็นปกติ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เป็นเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีกล้ามเนื้อลำตัวเป็นอัมพาตด้วย กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงจะถูกกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าดึงให้ข้อผิดรูป ทำให้มีกระดูกสันหลังคด ขาโก่ง เท้าบิด แขนขายาวไม่เท่ากัน เป็นต้น
5. ความพิการอื่นๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม ข้ออักเสบ ข้อติดยึด กระดูกสันหลังฝ่อ กล้ามเนื้อพิการ โรคกระดูกเปราะบาง เป็นต้น
ความต้องการพิเศษ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
ได้แก่ การนั่ง การยืน การนอน และการเดิน เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่มีความบกพร่องทาง
ร่างกายหรือสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถ
เคลื่อนไหว เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
1. บริการรักษา และพยาบาล บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
ใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นระยะๆ เช่น การรับประทานยา การผ่าตัดเพื่อรักษาและ
ปรับแก้ความพิการ การรักษาแผลกดทับ และโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากเคลื่อนไหวได้จำกัด
รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป เป็นต้น
2. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยทั่วไปบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือ
สุขภาพ จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ และ
ต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถพัฒนาการเคลื่อนไหว
การเดินทาง หรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ได้แก่ บริการฝึกการนั่ง ยืน ทรงตัว
เดิน ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน อาทิเช่น รับประทานอาหาร
แปรงฟัน อาบนํ้า ขับถ่าย แต่งตัว เป็นต้น ฝึกการใช้มือประสานกับสายตา ฝึกการหยิบจับ
สิ่งของ ฝึกทักษะสังคม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตดี และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป รวมทั้งการฝึกอาชีพ เป็นต้น
3. สิ่งอำนวยความสะดวก
3.1 กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือ
สุขภาพต้องการกายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน
เช่น เหล็กประคองขา แขนเทียม เฝือกตามมือ รองเท้าพิเศษ เครื่องช่วยเดิน ไม้คํ้ายัน และ
เก้าอี้ล้อ เป็นต้น
3.2 การปรับสภาพสิ่งแวดล้อม บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
สามารถเคลื่อนไหว เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมได้ โดยใช้กายอุปกรณ์ หรือเครื่องช่วย
คนพิการ แต่บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ยังต้องการการปรับสภาพ
สิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว เช่น พื้นทางเดิน ห้องนํ้า ประตู โต๊ะ
และเก้าอี้ เป็นต้น
4. สื่อ และอุปกรณ์พิเศษ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ มีข้อจำกัด
ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา นิ้ว มือ และลำตัว ดังนั้นจึงต้องการสื่อ
อุปกรณ์ที่ช่วยในการหยิบจับ ใช้สิ่งของ และขีดเขียน อาทิ หนังสือที่มีแผ่นกระดาษหนาเป็น
พิเศษ เพื่อช่วยให้เปิดได้ง่าย ดินสอแท่งใหญ่ ช้อนด้ามยาว สวิทช์ที่เปิด - ปิด โดยการใช้ฝ่ามือ
เครื่องช่วยพูด (สำหรับคนพิการทางร่างกายที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยคำพูด) สายรัดมือ เป็นต้น
5. การช่วยเหลือ คนพิการมีข้อจำกัดมาก ยังจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือใน
ลักษณะต่างๆ อีกด้วย เช่น ช่วยป้อนอาหาร ช่วยเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลงจากเก้าอี้ล้อ ช่วยเข็น
เก้าอี้ล้อคนพิการ และช่วยอุ้มขึ้นบันไดในอาคารที่ไม่มีทางลาดให้เก้าอี้ล้อ เป็นต้น
ได้แก่ การนั่ง การยืน การนอน และการเดิน เป็นต้น ดังนั้นบุคคลที่มีความบกพร่องทาง
ร่างกายหรือสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้สามารถ
เคลื่อนไหว เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
1. บริการรักษา และพยาบาล บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
ใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นระยะๆ เช่น การรับประทานยา การผ่าตัดเพื่อรักษาและ
ปรับแก้ความพิการ การรักษาแผลกดทับ และโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากเคลื่อนไหวได้จำกัด
รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป เป็นต้น
2. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยทั่วไปบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือ
สุขภาพ จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ และ
ต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถพัฒนาการเคลื่อนไหว
การเดินทาง หรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ได้แก่ บริการฝึกการนั่ง ยืน ทรงตัว
เดิน ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน อาทิเช่น รับประทานอาหาร
แปรงฟัน อาบนํ้า ขับถ่าย แต่งตัว เป็นต้น ฝึกการใช้มือประสานกับสายตา ฝึกการหยิบจับ
สิ่งของ ฝึกทักษะสังคม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตดี และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป รวมทั้งการฝึกอาชีพ เป็นต้น
3. สิ่งอำนวยความสะดวก
3.1 กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือ
สุขภาพต้องการกายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน
เช่น เหล็กประคองขา แขนเทียม เฝือกตามมือ รองเท้าพิเศษ เครื่องช่วยเดิน ไม้คํ้ายัน และ
เก้าอี้ล้อ เป็นต้น
3.2 การปรับสภาพสิ่งแวดล้อม บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
สามารถเคลื่อนไหว เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมได้ โดยใช้กายอุปกรณ์ หรือเครื่องช่วย
คนพิการ แต่บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ยังต้องการการปรับสภาพ
สิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว เช่น พื้นทางเดิน ห้องนํ้า ประตู โต๊ะ
และเก้าอี้ เป็นต้น
4. สื่อ และอุปกรณ์พิเศษ บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ มีข้อจำกัด
ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา นิ้ว มือ และลำตัว ดังนั้นจึงต้องการสื่อ
อุปกรณ์ที่ช่วยในการหยิบจับ ใช้สิ่งของ และขีดเขียน อาทิ หนังสือที่มีแผ่นกระดาษหนาเป็น
พิเศษ เพื่อช่วยให้เปิดได้ง่าย ดินสอแท่งใหญ่ ช้อนด้ามยาว สวิทช์ที่เปิด - ปิด โดยการใช้ฝ่ามือ
เครื่องช่วยพูด (สำหรับคนพิการทางร่างกายที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยคำพูด) สายรัดมือ เป็นต้น
5. การช่วยเหลือ คนพิการมีข้อจำกัดมาก ยังจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือใน
ลักษณะต่างๆ อีกด้วย เช่น ช่วยป้อนอาหาร ช่วยเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลงจากเก้าอี้ล้อ ช่วยเข็น
เก้าอี้ล้อคนพิการ และช่วยอุ้มขึ้นบันไดในอาคารที่ไม่มีทางลาดให้เก้าอี้ล้อ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น