วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่10

วันอังคารที่7 มกราคม 2556  

บันทึกการเรียน

นำเสนอเรื่องราวความรู้ของเด็กพิเศษที่ได้ศึกษามา โดยประกอบไปด้วยหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้

-ความบกพร่องทางสมองพิการ

 สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
          นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น
สาเหตุ
          อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี

-ความบกพร่องทางการเรียนรู้

 “ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ LD “ มีผลมาจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง ที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ไม่ได้มีความพิการ และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการเรียนรู้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติหรือบางคนอาจฉลาดกว่าปกติด้วยซ้ำไป แต่เพราะความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้ความสามารถในการรับรู้ การเรียบเรียง การแปลความข้อมูลที่ได้รับ และการประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งออกหรือโต้ตอบของเขาเสียไป จึงแสดงออกมาให้เห็นเป็นความบกพร่องของความสามารถด้านภาษา ซึ่งอาจเป็นด้านการพูดการสื่อสาร(Aphasia) และ/หรือด้านการอ่าน (Dyslexsia) และ/หรือด้านการเขียน (Dysgraphia) รวมถึงมีปัญหาในการคิดคำนวณทาง คณิตศาสตร์ (Mathematics disorder) และการสับสนในเรื่องทิศทาง (Directions disorder) ความหมายของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability)

-โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD) ย่อมาจากคำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder
เป็นโรคที่พบได้ บ่อยในวัยเด็ก โดยที่เด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเอง
ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ แม้ระดับสติปัญญาจะปกติ มีปัญหาด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังพบว่าหนึ่งในสามของเด็กยังคงมีอาการอยู่บ้างหรือ
บางคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีอาการเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งยังเพิ่มโอกาสการเกิดพยาธิ สภาพทางจิต
อื่นๆ ตามมา

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness คือ มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติและมักจะวอกแวกง่าย (distractibility)
2. Hyperactivity คือ มีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsiveness คือ มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจในการทำอะไรต่างๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น