วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่15

วันอังคารที่11 กุมภาพันธ์ 2556    

บันทึกการเรียน

อาจารย์ให้ศึกษาความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่สนใจให้มากที่สุดเพื่อเตรียมทำข้อสอบปลายภาค

-เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

 ความหมาย

       บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพ   หมายถึง    บุคคลที่มีอวัยวะ
   ไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป      กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ
   เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว   ซึ่ง
   อุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ

     สาเหตุของความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
  
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพมีได้ตั้งแต่ระยะก่อนคลอดขณะคลอด และเกิดขึ้นในภายหลัง  
ความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด  มักมี
สาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
                  1. ระหว่างมารดาตั้งครรภ์    เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์กำลังมีการพัฒนาโครงสร้างของ
  ร่างกาย และอวัยวะต่างๆ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือช่วง  3  เดือนแรก    ถ้ามีความผิดปกติของการ
  ตั้งครรภ์ระยะนี้     อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการได้       ตัวอย่างได้แก่มารดาเป็น
  หัดเยอรมัน  หรือมีประวัติการใช้ยา  หรือรักษาด้วยยา สูบบุหรี่  หรือติดเหล้า   มารดาเป็นโรค
  เบาหวาน  มารดาได้รับบาดเจ็บหรือการกระทบกระแทกที่หน้าท้อง  มารดาได้รับแสงกัมมันต-
  รังสีหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อการเติบโตของเด็ก  หรือภาวะทุโภชนาการ     ทำให้ขาดสาร
  อาหาร
                  2. โรคทางพันธุกรรม  มีการถ่ายทอดความผิดปกติทางสายเลือด  เด็กในครรภ์อาจดิ้น
  ไม่แรง หรือไม่ดิ้น  เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกาย    เช่น   มีภาวะโรคไขสันหลังฝ่อ  หรือ
   หรือเป็นโรคข้อติดยึด   หรือเป็นอัมพาตของขาเนื่องจากมีความผิดปกติของการสร้างกระดูก
   หลังที่มาห่อหุ้มไขสันหลังในระดับสูง      เด็กอาจเป็นโรคกระดูกอ่อนหักง่าย  หรือโรคกล้าม
  เนื้อพิการ
                 3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด    ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด    เช่น
  คลอดยาก  คลอดโดยการใช้เครื่องมือ  หรือผ่าตัดคลอด  คลอดท่าก้น  คลอดก่อนกำหนด หรือ
  คลอดหลังกำหนด  เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจหลังคลอดหรืออาจมีเลือดออกในสมองทำให้มี
  ความผิดปกติของสมอง     เด็กอาจแสดงอาการหายใจลำบาก     ตัวอ่อนปวกเปียก   ไม่กลืนนม
  อาการชัก  หรือซึม  เด็กที่คลอดก่อนกำหนด  หรือมีนํ้าหนักตัวน้อยเป็นสาเหตุของสมองพิการ
  ชนิดเกร็งได้  (Cerebral palsy)   ส่วนเด็กที่มีนํ้าหนักตัวมาก    อาจได้รับอันตรายระหว่างคลอด
  ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง  และไขสันหลัง   หรือกลุ่มเส้นประสาทเบรเคียล       (Brachial
  Plexus  Injury)  เด็กที่มีอาการตัวเหลือง     หลังคลอดอาจทำให้พิการชนิดเคลื่อนไหวผิดปกติ
                    สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพภายหลัง  ได้แก่  อุบัติเหตุ
  ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง  และแขนขา  เช่น   อุบัติเหตุจากการจราจร  การตกจาก
  ที่สูง  การถูกทำร้าย  ภาวะถูกไฟไหม้  หรือนํ้าร้อนลวก  ภาวะการอักเสบหรือติดเชื้อของสมอง
  เยื่อหุ้มสมอง ไขสันหลังเนื้องอกของสมองและไขสันหลังหรือกระดูก โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์
 โรคเลือด  ทำให้มีเลือดออกในข้อใหญ่ๆ  ก่อให้เกิดความพิการได
                   
ลักษณะโรคหรือสภาวะที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ

1. ซีรีบรัล พัลซี (Cerebral Palsy) หรือกลุ่มสมองพิการ  เป็นสภาวะความผิดปกติของ
   ท่าทางและการเคลื่อนไหว     ซึ่งเกิดจากพยาธิสภาพในสมอง   ในช่วงที่สมองกำลังเจริญเติบโต
  ภายใน 8 ปีแรก   แต่ถ้าเด็กมีความพิการทางสมองหลังช่วงอายุนี้  จะไม่เรียกว่า  Cerebral Palsy
  เด็กจะมีความผิดปกติของทางการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อปาก   แก้ม   ลิ้น   ใบหน้า  แขน  ขา
  มีการพัฒนาของปฏิกริยาตอบสนองต่างๆ    ของร่างกายผิดปกติไม่เป็นตามวัย    และมีปฏิกริยา
  ตอบสนอนต่อการกระตุ้น  เอ็นหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ  ทำให้มีกล้ามเนื้อหดสั้น  และดึงให้ข้ออยู่
 ในลักษณะงอหรือผิดรูป  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้  2 กลุ่ม  คือ
   1.1 กลุ่มเกร็ง (Spastic) เด็กมีกล้ามเนื้อเกร็ง  เคลื่อนไหวได้ช้า  ขาอาจมีอาการมากกว่าแขน  หรือมีความผิดปกติครึ่งซีก  หรือผิดปกติทั้งตัว  ทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อ คอ ลำตัว และแขน ขาไม่ได้
   1.2  กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) เด็กไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ ได้จะมีการแสดงสีหน้า  คอบิด  แขนงอ  หรือเหยียดเปะปะ  ทั้งพูดลำบาก กลืนลำบาก  อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว  คล้ายอาการขว้างลูกบอล

เด็กสมองพิการ (Cerebral Palsy) มักมีปัญหาทางสายตา  หรือการได้ยินร่วมด้วย และอาจมีปัญหาในการสื่อความหมาย   เด็กจำนวนหนึ่งอาจมีระดับสติปัญญาตํ่า

  2. กลุ่มที่มีความผิดปกติที่ไขสันหลัง
กลุ่มแรก  ได้แก่   กลุ่มที่มีความผิดปกติระหว่าง   การพัฒนาร่างกายในครรภ์กระดูกสันหลังที่ห่อหุ้มไขสันหลังไม่เชื่อมติดกัน   ทำให้มีการดึงรั้งของประสาทไขสันหลัง  บางครั้งมีนํ้าในสมองเพิ่มด้วย  เด็กจะมีอาการขาอ่อนแรง ไม่มีความรู้สึก  และควบคุมการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้
กลุ่มที่ 2 เกิดภายหลังจากอุบัติเหตุต่อกระดูกสันหลัง และไขสันหลัง  ได้แก่
อุบัติเหตุทางรถยนต์  ถูกยิง  ถูกแทง  ตกจากที่สูง  หรือการติดเชื้อในไขสันหลังหรือการติดเชื้อในไขสันหลัง   ความรุนแรงขึ้นอยู่กับระดับที่ได้รับบาดเจ็บ  ถ้าเกิดในระดับที่สูงมาก    ก็จะมีอาการอัมพาตของแขน และลำตัวร่วมด้วย  การที่กล้ามเนื้อลำตัวอ่อนแรง ก็จะทำให้กระดูกสันหลังคด และกล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตมักมีอาการเกร็ง กระตุก  เด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ และการสูญเสียหน้าที่การทำงานของไต ทำให้ไตวายได้
 3. กลุ่มแขนขาขาด  อาจเป็นแต่กำเนิด หรือจากอุบัติเหตุ หรือเป็นมะเร็งของกระดูกทำให้สูญเสียแขนขาภายหลัง
 4. โรคโปลิโอ  เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ไขสันหลังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาต    โดยประสาทรับความรู้สึกยังเป็นปกติ   อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง   เกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เป็นเฉพาะแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง  อาจมีกล้ามเนื้อลำตัวเป็นอัมพาตด้วย กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงจะถูกกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่าดึงให้ข้อผิดรูป  ทำให้มีกระดูกสันหลังคด  ขาโก่ง  เท้าบิด แขนขายาวไม่เท่ากัน  เป็นต้น
 5. ความพิการอื่นๆ ได้แก่ โรคทางพันธุกรรม ข้ออักเสบ ข้อติดยึด กระดูกสันหลังฝ่อ กล้ามเนื้อพิการ โรคกระดูกเปราะบาง  เป็นต้น
               ความต้องการพิเศษ
                     
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ        มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
   ได้แก่   การนั่ง  การยืน  การนอน   และการเดิน    เป็นต้น    ดังนั้นบุคคลที่มีความบกพร่องทาง
  ร่างกายหรือสุขภาพ  จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือด้านต่างๆ       เพื่อช่วยให้สามารถ
  เคลื่อนไหว เดินทาง หรือประกอบกิจกรรมได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
                    1. บริการรักษา และพยาบาล       บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
  ใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นระยะๆ   เช่น  การรับประทานยา  การผ่าตัดเพื่อรักษาและ
  ปรับแก้ความพิการ   การรักษาแผลกดทับ   และโรคแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากเคลื่อนไหวได้จำกัด
  รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป   เป็นต้น
                    2. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ       โดยทั่วไปบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือ
  สุขภาพ      จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่แรกเกิด  หรือแรกพบความพิการ  และ
  ต้องได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง             เพื่อให้สามารถพัฒนาการเคลื่อนไหว
  การเดินทาง หรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง   ได้แก่  บริการฝึกการนั่ง  ยืน  ทรงตัว
  เดิน   ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการประกอบกิจวัตรประจำวัน   อาทิเช่น   รับประทานอาหาร
  แปรงฟัน  อาบนํ้า  ขับถ่าย  แต่งตัว  เป็นต้น     ฝึกการใช้มือประสานกับสายตา  ฝึกการหยิบจับ
  สิ่งของ  ฝึกทักษะสังคม      เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม  มีสุขภาพกาย
   และสุขภาพจิตดี  และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป รวมทั้งการฝึกอาชีพ  เป็นต้น
                    3. สิ่งอำนวยความสะดวก
                       3.1 กายอุปกรณ์ และเครื่องช่วยคนพิการ  บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือ
  สุขภาพต้องการกายอุปกรณ์  และเครื่องช่วยคนพิการที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน
  เช่น   เหล็กประคองขา   แขนเทียม   เฝือกตามมือ   รองเท้าพิเศษ    เครื่องช่วยเดิน  ไม้คํ้ายัน  และ
  เก้าอี้ล้อ  เป็นต้น
                       3.2 การปรับสภาพสิ่งแวดล้อม      บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือสุขภาพ
  สามารถเคลื่อนไหว  เดินทาง  หรือประกอบกิจกรรมได้      โดยใช้กายอุปกรณ์ หรือเครื่องช่วย
  คนพิการ    แต่บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ          ยังต้องการการปรับสภาพ
  สิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหว   เช่น    พื้นทางเดิน  ห้องนํ้า  ประตู  โต๊ะ
  และเก้าอี้  เป็นต้น
                    4. สื่อ และอุปกรณ์พิเศษ   บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ มีข้อจำกัด
  ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย  เช่น  แขน ขา นิ้ว มือ และลำตัว  ดังนั้นจึงต้องการสื่อ
  อุปกรณ์ที่ช่วยในการหยิบจับ ใช้สิ่งของ  และขีดเขียน    อาทิ หนังสือที่มีแผ่นกระดาษหนาเป็น
  พิเศษ  เพื่อช่วยให้เปิดได้ง่าย ดินสอแท่งใหญ่ 
 ช้อนด้ามยาว สวิทช์ที่เปิด - ปิด  โดยการใช้ฝ่ามือ
  เครื่องช่วยพูด (สำหรับคนพิการทางร่างกายที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยคำพูด) สายรัดมือ เป็นต้น
                    5. การช่วยเหลือ   คนพิการมีข้อจำกัดมาก        ยังจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือใน
  ลักษณะต่างๆ อีกด้วย  เช่น ช่วยป้อนอาหาร  ช่วยเคลื่อนย้ายขึ้นหรือลงจากเก้าอี้ล้อ  ช่วยเข็น
  เก้าอี้ล้อคนพิการ และช่วยอุ้มขึ้นบันไดในอาคารที่ไม่มีทางลาดให้เก้าอี้ล้อ  เป็นต้น 

ครั้งที่14



วันอังคารที่4 กุมภาพันธ์ 2556   

บันทึกการเรียน

ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome)เด็กดาวน์ หรือเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม เป็นเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เพราะความผิดปกติของโครโมโซม
โครโมโซม จะมีอยู่ในเซลร่างกายมนุษย์ แต่ละคนจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง มีหน้าที่แสดงลักษณะของคนๆนั้นออกมา เช่น ผมสีดำ ตัวเตี้ย ตัวสูง เพศชาย เพศหญิง และถ่ายทอดลักษณะเหล่านั้นออกมาให้ลูกหลาน โดยจะได้จากบิดา 23 แท่ง มารดา 23 แท่ง
สาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการดาวน์
สาเหตุของความผิดปกติของโครโมโซม ยังไม่ทราบแน่ชัด มีปรากฏในทุกเชื้อชาติ เด็กเกิดใหม่ 1,000ราย จะพบเด็กดาวน์ 1 ราย ความผิดปกติมี 3 ประเภทคือ
  1. โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง พบได้ร้อยละ 95 %
  1. โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 พบได้ร้อยละ 4
  1. มีโครโมโซม ทั้งปกติในคนเดียวกันได้พบได้ร้อยละ 1
ลักษณะของเด็กดาวน์
  1. ลักษณะทั่วไป เด็กดาวน์ทุกคนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ศีรษะเล็ก หน้าแบน สันจมูกแบน ตาเล็กเฉียงขึ้น หูเล็ก ช่องปากเล็ก เพดานปากสูง คอสั้น แขนขาสั้น มือแบนกว้าง นิ้วมือ นิ้วเท้าสั้น ฝ่าเท้าสั้น
  1. ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก กล้ามเนื้ออ่อนนิ่ม ข้อต่อยืดได้มาก ทำให้มีพัฒนาการการเคลื่อนไหวช้า และฝ่าเท้าแบนราบ ในบางราบอาจมีข้อกระดูกเคลื่อน จึงจำเป็นต้องมีการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกเจริญเติบโตช้า ทำให้ตัวเล็กเตี้ย สันจมูกแบน ช่องปากเล็ก หูชั้นกลางอักเสบได้ง่าย มีความผิดปกติของกระดูกหูชั้นกลาง และชั้นใน ทำให้บางรายมีความบกพร่องทางการได้ยิน
  1. ระบบผิวหนัง มีความยืดหยุ่นน้อย มีเลือดมาเลี้ยงน้อย ทำให้ผิวหนังแห้งแตกง่าย มีรอยจ้ำเป็นลาย และการรับรู้ทางประสาทสัมผัสมีน้อย ควรออกกำลังกายเพื่อช่วยให้เลือดมาเลี้ยงดีขึ้น
  1. ระบบทางเดินอาหาร บางรายมีการอุดตันของลำไส้ และ/หรือ ไม่มีรูทวารตั้งแต่แรกเกิด บางรายอาจอาเจียนจนถึงอายุ 6 เดือน เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารไม่แข็งแรง เด็กส่วนมากมีปัญหาเร่องท้องอืด และท้องผูกได้ง่าย
  1. ระบบหัวใจ และหลอดเลือด บางรายอาจมีโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิดร่วมด้วย และมะเร็งในเม็ดเลือดขาวได้บ้าง
  1. ระบบประสาท สมองมีขนาดเล็ก ทำให้มีการรับรู้ ความเข้าใจช้า สติปัญญาต่ำกว่าเด็กทั่วไปอาจมีปัญหาทางตา เช่น ตาเข สายตาสั้น ปัญหาการได้ยิน มีประสาทรับความรู้สึกต่างๆน้อยกว่าปกติ
  1. ระบบหายใจ ติดเชื้อง่าย เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ และขับเสมหะไม่ดี
  1. ระบบสืบพันธ์ อวัยวะเพศของผู้ชายอาจจะเล็กกว่าปกติ
  1. ระบบต่อมไร้ท่อ ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย และสมอง (Growth Hormone ,Thyroid Hormone ) อาจมีน้อยกว่าปกติ
  1. ลักษณะนิสัย และอารมณ์ วัยเด็กจะเชื่องช้า เมื่อโตขึ้นร่าเริงแจ่มใส การเลี้ยงดูที่เหมาะสม และการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี จะมีผลต่อพฤติกรรมการปรับตัว และอารมณ์ของเด็กในทางที่ดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัดเจน
ความช่วยเหลือที่เด็กดาวน์ควรได้รับ
  1. วัยเด็ก เป็นวัยทองของชีวิต ทักษะต่างๆจะพัฒนาไปได้ถึงกว่า ร้อยละ 90 ในวัยนี้ เด็กควรได้รับการแก้ไขความพิการที่เป็นมาแต่กำเนิด การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าเรียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว บุคลากรทางการศึกษา และสาธารณสุข
  1. วัยเรียน เมื่อเด็กได้รับการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะทางด้านร่าง และพัฒนาการแล้ว เด็กควรได้รับการศึกษาในโรงเรียนปกติใกล้บ้าน เพื่อให้ได้เรียนรู้ และปรับตัวให้เข้ากับชีวิตจริงในชุมชนของตนเอง ซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัว และบุคลากรทางการศึกษา
  1. วัยทำงาน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนแล้ว เด็กควรได้รับการฝึกอาชีพจากสถานที่ทำงานจริงในชุมชน หรือสถานฝึกอาชีพต่างๆต่อจากนั้น ชุมชนควรเปิดโอกาสให้เด็กเหล่านี้ได้ทำงาน งานที่ทำอาจเป็นงานที่ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือใช้ทักษะไม่มากนัก ในปัจจุบันมีสถานประกอบการเอกชนหลายแห่ง เปิดโอกาสให้กับเด็กเหล่านี้ ได้ทำงาน และมีอาชีพที่เหมาะสม เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับคนทั่วไป
การดูแลเด็กดาวน์
สุขภาพอนามัย เด็กดาวน์ จะมีโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด หรือมักจะเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อแพทย์จะได้ค้นหา หรือให้การบำบัด รักษาได้ทันกาล รวมทั้งป้องกันโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การส่งเสริมพัฒนาการ
เด็กดาวน์ สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม ดังนั้นผู้ปกครอง จึงควรพาเด็กไปพบแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำ และวิธีการ ในการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กมีความพร้อม รวมทั้งนำกลับมาฝึกฝนที่บ้าน หรือในทุกโอกาสเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กปกติ





ครั้งที่13

วันอังคารที่ 28 มกราคม 2556   

บันทึกการเรียน

*หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการนัดสอบนอกตารางกลางภาค

*ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม

บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ          1.การตรวจการได้ยิน
          2.การให้คำปรึกษาครอบครัว
          3.การจัดโปรแกรมการศึกษา
          4.บริการทางการแพทย์
          5.บริการทางการพยาบาล
          6.บริการด้านโภชนาการ
          7.บริการด้านจิตวิทยา
          8.กายภาพบำบัด
          9.กิจกรรมบำบัด
        10.อรรถบำบัด
คำแนะนำ          1. เมื่อพบว่าเด็กมีพัฒนาการช้าเพียงเล็กน้อย หากไม่มีปัจจัยเสี่ยง (เช่น ภาวะเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย มีปัญหาสุขภาพทางกาย อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนา เป็นต้น) ประกอบกับผู้เลี้ยงดูไม่มีความกังวลหรือปฏิเสธการตรวจวินิจฉัย  อาจให้คำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการเบื้องต้น  และนัดตรวจซ้ำในเวลาไม่นานนัก
          2. หากเด็กมีปัญหาทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ควรได้รับการดูแลโดยนักกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันการลีบและหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หากมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดควรได้รับการดูแลโดยนักแก้ไขการพูดร่วมด้วย หากมีปัญหาทางการเรียนรู้และพฤติกรรมควรได้รับการดูแลแก้ไขโดยนักกิจกรรมบำบัดและนักจิตวิทยาร่วมด้วย
          3. การสังเกตพัฒนาการของเด็กมีความสำคัญ กล่าวคือเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หากได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเร็วเท่าใดก็จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากเท่านั้น

สรุป          เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการจะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน การสังเกตพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก การประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะๆ โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มเสี่ยงตามสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการจะช่วยให้ค้นหาเด็กเหล่านี้ได้เร็วขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพ


ครั้งที่12

วันอังคารที่21 มกราคม 2556   

บันทึกการเรียน

เรียนรู้เรื่องราวความรู้ ในเรื่องของ

-พัฒนาการของเด็กพิเศษ ซึ่งคือเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลเป็นพิเศษ เป็นการช่วยแก้ไขและพัฒนาเด็กพิเศษกลุ่มอาการต่างๆ ให้ใช้ความสามารถและช่วยเหลือตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด 
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก


-สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ 
1. โรคพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย กลุ่มอาการดาวน์เป็นความผิดปกติของโครโมโซมซึ่งเป็นสาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการหรือภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่พบบ่อยที่สุด ในปัจจุบันมีโรคทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการอีกหลายโรคซึ่งมีลักษณะจำเพาะและการตรวจโครโมโซมด้วยวิธีธรรมดามักให้ผลปกติ ได้แก่ กลุ่มอาการโครโมโซมเอกซ์เปราะ (Fragile X syndrome), กลุ่มอาการพราเดอร์ - วิลลี่ (Prader-Willi syndrome) และ  velocardiofacial syndrome เป็นต้น
 
     ในประเทศไทยปัจจุบันเริ่มมีการตรวจยืนยันการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้ velocardiofacial syndrome  ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีหัวใจผิดปกติ เพดานโหว่ และพัฒนาการล่าช้าโดยเฉพาะทางภาษา  สามารถให้คำวินิจฉัยได้จากการตรวจโดยเทคนิคพิเศษ คือ fluorescent in situ hybridization(FISH) จะพบความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 22 ดังนั้น เด็กที่มาพบแพทย์ด้วยพัฒนาการล่าช้า หากแพทย์ตรวจพบว่ามีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดแม้เพียงเล็กน้อย  โดยเฉพาะเด็กที่มีประวัติพัฒนาการล่าช้าในครอบครัว  ควรได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางพันธุกรรม
 
2. โรคของระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย  ที่พบบ่อยคืออาการชัก และความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ ในกรณีที่เด็กมาพบแพทย์ด้วยพัฒนาการล่าช้าและมีอาการชัก ควรถามประวัติโดยเฉพาะอายุที่เริ่มมีพัฒนาการล่าช้าและตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยแยกโรค โดยเฉพาะมีพยาธิสภาพเป็น static หรือ progressive เด็กที่มีประวัติพัฒนาการถดถอย(regression) ควรได้รับการพิจารณาส่งต่อแพทย์ทางระบบประสาทต่อไป
 
3. การติดเชื้อ โรคในกลุ่มนี้ที่สำคัญคือการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง และต้อกระจกร่วมด้วย นอกเหนือจากการส่งซีรั่มเพื่อตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อ toxoplasma, rubella, cytomegalovirus, syphilis และ histoplasma แล้วยังควรพิจารณาส่งตรวจหาการติดเชื้อ human immunodeficiency virus ด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
 
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ ในกรณีที่เป็นมาแต่กำเนิดและไม่ได้รับการรักษาก่อนอายุ 2-3 เดือน เด็กจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติอย่างถาวรซึ่งแก้ไขไม่ได้  แม้จะให้ไทรอยด์ฮอร์โมนในภายหลัง นอกจากไทธัยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ โรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น ความผิดปกติของกรดอะมิโนมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างต่ำและยังมีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการอยู่ จึงทำให้เด็กซึ่งมีความบกพร่องทางพัฒนาการจำนวนหนึ่งไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคแน่นอน แม้จะมีลักษณะทางคลินิกบ่งชี้ก็ตาม ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมแต่กำเนิดมีความก้าวหน้ามาก มีการค้นพบความผิดปกติถึงส่วนย่อยของเซลล์ เช่น mitochondria, peroxisome เป็นต้น 
 
      แม้จะมีข้อจำกัดในการรักษา แต่มีบางโรคเมื่อให้การรักษาแล้วได้ผลดี เช่น biotinidase deficiency ซึ่งเด็กอาจมีอาการและอาการแสดง คือ พัฒนาการล่าช้า ผื่น ผมร่วง ชัก และภาวะเป็นกรดในเลือด แต่บางคนอาจมาด้วยอาการชัก หรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย (hypotonia) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การใช้ biotin รักษาอาจทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นจนเป็นปกติ ดังนั้น เมื่อตรวจพบเด็กที่มีประวัติการแต่งงานระหว่างญาติหรือบุคคลในครอบครัวมีความผิดปกติทำนองเดียวกัน มีประวัติพัฒนาการถดถอยโดยเฉพาะเมื่อมีการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย อาเจียน เลี้ยงไม่โต ชัก พัฒนาการล่าช้า หรือได้รับการวินิจฉัยเป็น cerebral palsy โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด  เด็กเหล่านี้ควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรคความผิดปกติแต่กำเนิดเกี่ยวกับเมตาบอลิซึมด้วย  แม้หลายโรคมีพยากรณ์โรคไม่ดีนัก  แต่ควรได้รับคำปรึกษาแนะนำเพื่อการวางแผนครอบครัวที่เหมาะสมต่อไป
 
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด ภาวะที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องทางพัฒนาการที่พบบ่อยคือการเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน ปัจจัยดังกล่าวอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของโรค เช่น น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อในครรภ์ เป็นต้น
 
6. สารเคมี  ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากประชาชนทั่วไปมีโอกาสได้รับสารนี้ในชีวิตประจำวันมากกว่าชนิดอื่นๆ ผลกระทบที่มีการศึกษากันมาก คือเมื่อเด็กมีระดับตะกั่วในเลือดสูงสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป 
          สารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่มีผลทำให้พัฒนาการของทารกในครรภ์ล่าช้าคือ แอลกอฮอล์ ซึ่งเชื่อว่าเป็น teratogen ทารกที่เกิดมาจะมีความผิดปกติซึ่งเรียกว่ากลุ่มอาการ fetal-alcohol คือ มีตัวเล็ก ตาเล็ก hypoplasia ของริมฝีปากบนและร่องริมฝีปากบน (philtrum) หัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น atrial septal defect และมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม การที่เด็กจะเกิดกลุ่มอาการนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางมารดา ได้แก่ พันธุกรรม ช่วงเวลาและปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม นอกจากนั้นยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ดังนั้น ประวัติแหล่งที่อยู่อาศัยและอาชีพของบิดามารดาจึงมีความสำคัญในการวินิจฉัยหาสาเหตุ
 
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร ปัจจัยข้อนี้แม้จะมีผลกระทบต่อพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่มักไม่รุนแรง  ดังนั้น หากเด็กมีพัฒนาการล่าช้าค่อนข้างมาก  ควรตรวจค้นหาสาเหตุอื่นร่วมด้วยเสมอ
 

-แนวทางวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
1. การซักประวัติ1.1 โรคประจำตัวต่างๆ ที่จะเป็นสาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการได้ เช่น โรคลมชัก
1.2 การเจ็บป่วยในครอบครัว เช่น พัฒนาการล่าช้า  ปัญหาการเรียน  โรคทางระบบประสาท เป็นต้น

2. การตรวจร่างกาย  การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ 

3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

4.การประเมินพัฒนาการ    การประเมินพัฒนาการนั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากการที่เราสามารถบอกได้ว่าเด็กคนไหนมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้เร็วเท่าไรและรีบให้การวินิจฉัยและให้การรักษาและกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม ย่อมจะส่งผลดีต่อเด็กและครอบครัวในระยะยาว


-ขั้นตอนการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ (Developmental screening)
2. การตรวจประเมินพัฒนาการ (Developmental assessment)
3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ (Diagnosis)
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ (Treatment and early Intervention)
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ (Follow up and evaluation)



ครั้งที่11

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2556   

บันทึกการเรียน

*ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมืองที่มีการชุมนุมตามสถาณที่ต่างๆ ส่งผลให้นักศึกษาหลายคนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ 




*ค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม :ศึกษาจากวิดีโอเทคนิคการการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


                                            

ครั้งที่10

วันอังคารที่7 มกราคม 2556  

บันทึกการเรียน

นำเสนอเรื่องราวความรู้ของเด็กพิเศษที่ได้ศึกษามา โดยประกอบไปด้วยหัวข้อเรื่องดังต่อไปนี้

-ความบกพร่องทางสมองพิการ

 สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้
          นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา  และโรคลมชัก เป็นต้น
สาเหตุ
          อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี

-ความบกพร่องทางการเรียนรู้

 “ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ LD “ มีผลมาจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง ที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน ไม่ได้มีความพิการ และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการเรียนรู้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติหรือบางคนอาจฉลาดกว่าปกติด้วยซ้ำไป แต่เพราะความผิดปกติในการทำงานของสมอง ทำให้ความสามารถในการรับรู้ การเรียบเรียง การแปลความข้อมูลที่ได้รับ และการประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งออกหรือโต้ตอบของเขาเสียไป จึงแสดงออกมาให้เห็นเป็นความบกพร่องของความสามารถด้านภาษา ซึ่งอาจเป็นด้านการพูดการสื่อสาร(Aphasia) และ/หรือด้านการอ่าน (Dyslexsia) และ/หรือด้านการเขียน (Dysgraphia) รวมถึงมีปัญหาในการคิดคำนวณทาง คณิตศาสตร์ (Mathematics disorder) และการสับสนในเรื่องทิศทาง (Directions disorder) ความหมายของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disability)

-โรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น (ADHD) ย่อมาจากคำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder
เป็นโรคที่พบได้ บ่อยในวัยเด็ก โดยที่เด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเอง
ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ แม้ระดับสติปัญญาจะปกติ มีปัญหาด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังพบว่าหนึ่งในสามของเด็กยังคงมีอาการอยู่บ้างหรือ
บางคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีอาการเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งยังเพิ่มโอกาสการเกิดพยาธิ สภาพทางจิต
อื่นๆ ตามมา

ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness คือ มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติและมักจะวอกแวกง่าย (distractibility)
2. Hyperactivity คือ มีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsiveness คือ มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจในการทำอะไรต่างๆ





ครั้งที่9

วันอังคารที่31 ธันวาคม 2556   

บันทึกการเรียน

*ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดขึ้นปีใหม่

ความสำคัญของวันขึ้นปีใหม่



ประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ สำหรับพระราชพิธีปีใหม่นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าเสด็จ เข้าไปรับพระราชทานเลี้ยง ณ ท้องพระโรงกลางพระที่นังจักรีมหาปราสาทพระราชทาน ฉลากแก่พระบรมวงศฉลากแล้วเสด็จพระราชดำเนินมา ที่ชาลาหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทอดพระเนตรละคร หลวงแล้วเสด็จ ฯ กลับ
สมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ และต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๖ โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศก สงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์ สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่าพระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ ๘ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ใน พระปรมาภิไธยพระ บาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ ๑ มกราคม ใกล้เคียงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปี และเป็นการสอดคล้อง ตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวร พุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ คณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์โปรดให้ยกการพระราชกุศลสดับปกรณ์ผ้าคู่ในวัน ขึ้นปีใหม่ไปใช้ในพระราชพิธีสงกรานต์ ซึ่งฟื้นฟูขึ้นใหม่ตาม โบราณราชประเพณีซึ่งเป็นเทศกาล สงกรานต์ในวันที่ ๑๓ – ๑๔ – ๑๕ เมษายน
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนสำหรับงานของทาง ราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ ๓๑ ธันวาคม จนถึง วันที่ ๑ มกราคมเช่นเคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปี หรือวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทางราชการหรือ ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง และมหรสพ มีพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พรปีใหม่ แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่ แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลสำคัญของบ้านเมือง เช่น ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศาลฎีกากล่าวคำ ปราศรัย พอถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. วัดวาอารามต่างๆ จะจัด พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง เพื่อแสดง ความยินดีต้อนรับรุ่งอรุณแห่งชีวิตของประชาชนในปีใหม่ โดยทั่วกัน ตอนเช้าวันที่ ๑ มกราคมก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไป ทำบุญตักบาตรกันที่วัด หรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตร หรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน